วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หะดิษเศาะเฮียะห์ ว่าการละหมาดด้วยการละหมาดอย่างดีและรุกัวอ์ตั้งเเริ่มจนจบอย่างดี
حَدَّثَنَا إِسْحَاقُ بْنُ سَعِيدِ بْنِ عَمْرِو بْنِ سَعِيدِ بْنِ الْعَاصِ، حَدَّثَنِي أَبِي، عَنْ أَبِيهِ، قَالَ كُنْتُ عِنْدَ عُثْمَانَ فَدَعَا بِطَهُورٍ فَقَالَ سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَقُولُ " مَا مِنِ امْرِئٍ مُسْلِمٍ تَحْضُرُهُ صَلاَةٌ مَكْتُوبَةٌ فَيُحْسِنُ وُضُوءَهَا وَخُشُوعَهَا وَرُكُوعَهَا إِلاَّ كَانَتْ كَفَّارَةً لِمَا قَبْلَهَا مِنَ الذُّنُوبِ مَا لَمْ يُؤْتِ كَبِيرَةً وَذَلِكَ الدَّهْرَ كُلَّهُ "
อิสฮาก อิบนุ สะอี๊ด บินอัมร์ บินสะอี๊ด บิน อัลอาศ เล่าให้เราฟังว่า พ่อของฉันเล่าให้ฉันฟัง จากพ่อของเขาว่า (ปู่ของผู้รายงานคือ สอี๊ด อิบนุ้ลอาศ) ขณะที่ฉันอยู่กับอุสมาน (อิบนิอัฟฟาน) เขาเรียกให้เอาน้ำทำน้ำละหมาดมาให้ แล้วกล่าวว่า ฉันเคยได้ยินท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีมุสลิมคนใดที่เขามาละหมาดที่ถูกบัญญัติไว้ (ละหมาดฟัรดู) โดยเขาทำน้ำละหมาดอย่างดีงาม และรุกัวอ์ (ละหมาดตั้งแต่เริ่มจนจบ) อย่างประณีต นอกจากเขาจะได้รับการลบล้างความผิดก่อนหน้านั้นตลอดเวลา ตราบใดที่เขาไม่ทำบาปใหญ่” (หมายถึงความผิดเล็กๆจะได้รับการอภัยโทษยกเว้นบาปใหญ่)
มุสลิม/หมวดที่2/บทที่4/ฮะดีษเลขที่ 0441
หะดิษเศาะเฮียะฮ์มุสลิม ว่าด้วยเมื่อชัยฏอนได้ยินเสียงอาซาน
حَدَّثَنَا قُتَيْبَةُ بْنُ سَعِيدٍ، حَدَّثَنَا الْمُغِيرَةُ، - يَعْنِي الْحِزَامِيَّ - عَنْ أَبِي الزِّنَادِ، عَنِ الأَعْرَجِ، عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ، أَنَّ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم قَالَ " إِذَا نُودِيَ لِلصَّلاَةِ أَدْبَرَ الشَّيْطَانُ لَهُ ضُرَاطٌ حَتَّى لاَ يَسْمَعَ التَّأْذِينَ فَإِذَا قُضِيَ التَّأْذِينُ أَقْبَلَ حَتَّى إِذَا ثُوِّبَ بِالصَّلاَةِ أَدْبَرَ حَتَّى إِذَا قُضِيَ التَّثْوِيبُ أَقْبَلَ حَتَّى يَخْطِرَ بَيْنَ الْمَرْءِ وَنَفْسِهِ يَقُولُ لَهُ اذْكُرْ كَذَا وَاذْكُرْ كَذَا لِمَا لَمْ يَكُنْ يَذْكُرُ مِنْ قَبْلُ حَتَّى يَظَلَّ الرَّجُلُ مَا يَدْرِي كَمْ صَلَّى "
อบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า เมื่อเสียงอะซานเพื่อการละหมาดได้ประกาศขึ้น ชัยฏอนจะหนีเตลิดโดยผายลมไปด้วย จนกระทั่งไม่ได้ยินเสียงการอะซานนั้น แต่เมื่อสิ้นเสียงอะซานมันจะกลับมา และเมื่อมีการอิกอมะห์เพื่อละหมาด มันก็จะหนีเตลิดไป จนกระทั่งเสียงอิกอมะห์ได้จบลง มันก็จะหวนกลับมารบกวนผู้คนที่กำลังละหมาดโดยมันจะกรซิบให้เขาได้นึกถึงสิ่งนั้น,สิ่งนี้ ทั้งที่เขาไม่เคยคิดถึงเรื่องนั้นมาก่อนเลย กระทั่งเขาเคลิ้มไปจนไม่รู้ว่าเขาได้ละหมาดไปจำนวนเท่าไหร่แล้ว
มุสลิม/หมวดที่4/บทที่8/ฮะดีษเลขที่ 0756
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หะดิษเศาะเฮียะฮ์มุสลิม ว่าด้วยผลการขวยขวายของมนุษย์
عَنْ أَبِي مَالِكٍ الأَشْعَرِيِّ، قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم " الطُّهُورُ شَطْرُ الإِيمَانِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ تَمْلأُ الْمِيزَانَ . وَسُبْحَانَ اللَّهِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ تَمْلآنِ - أَوْ تَمْلأُ - مَا بَيْنَ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضِ وَالصَّلاَةُ نُورٌ وَالصَّدَقَةُ بُرْهَانٌ وَالصَّبْرُ ضِيَاءٌ وَالْقُرْآنُ حُجَّةٌ لَكَ أَوْ عَلَيْكَ كُلُّ النَّاسِ يَغْدُو فَبَائِعٌ نَفْسَهُ فَمُعْتِقُهَا أَوْ مُوبِقُهَا "
อบีมาลิก อัลอัชอารีย์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ความสะอาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของการศรัทธา (การสรรเสริญอัลลอฮ์โดยกล่าวคำว่า) อัลฮัมดุลิ้ลาฮ์ ทำให้ตราชั่ง (ภาคผลแห่งความดีในวันกิยามะห์) เต็ม และ (การกล่าวคำว่า) ซุบฮานั้ลลอฮ์ วัลฮัมดุลิ้ลลาฮ์ ทั้งสองประโยคนี้จะทำให้เต็มเปี่ยม (ความดีที่บกพร่องเพิ่มพูนเต็มตราชั่ง) หรือเต็มฟากฟ้าและแผ่นดิน, การละหมาดเป็นรัศมี, การบริจาคเป็นหลักฐาน, การอดทนเป็นแสงสว่าง และอัลกุรอานเป็นหลักฐานให้ (ผู้อ่านและปฏิบัติตาม) หรือไม่ก็สาปแช่ง (ผู้อ่านแต่ฝ่าฝืน) มนุษย์ทุกคนต่างก็ขวนขวาย เขายอมขายตัวของเขา ดังนั้นบางคนปลอดภัยและบางคนก็หายนะ”
มุสลิม/หมวดที่2/บทที่1/ฮะดีษเลขที่ 0432
หะดิษเศาะเฮียะฮ์มุสลิม ว่าด้วยผู้ซึ่งถ่ายอุจจาระบนทางสัญจรของผู้คน หรือใต้ต้นไม้ที่ให้ร่มเงาเป็นผู้ถูกสาแแช่ง
عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم قَالَ " اتَّقُوا اللَّعَّانَيْنِ " . قَالُوا وَمَا اللَّعَّانَانِ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ " الَّذِي يَتَخَلَّى فِي طَرِيقِ النَّاسِ أَوْ فِي ظِلِّهِمْ "
อบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “พวกเจ้าพึงระวังการสาปแช่งสองประการ” พวกเขา (เหล่าศอฮาบะห์) กล่าวว่า อะไรคือสองประการที่ทำให้เป็นผู้ถูกสาปแช่งหรือ โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ ท่านตอบว่า ผู้ซึ่งถ่ายอุจจาระบนทางสัญจรของผู้คน หรือใต้ต้นไม้ที่ให้ร่มเงา”
มุสลิม/หมวดที่2/บทที่20/ฮะดีษเลขที่ 0516
หะดิษเศาะเฮียะห์บุคอรี ว่าด้วยพระองค์อัลลอฮ์ ได้ทรงบัญญัติการละหมาดทีละสองร๊อกอะห์
حَدَّثَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ يُوسُفَ، قَالَ أَخْبَرَنَا مَالِكٌ، عَنْ صَالِحِ بْنِ كَيْسَانَ، عَنْ عُرْوَةَ بْنِ الزُّبَيْرِ، عَنْ عَائِشَةَ أُمِّ الْمُؤْمِنِينَ، قَالَتْ " فَرَضَ اللَّهُ الصَّلاَةَ حِينَ فَرَضَهَا رَكْعَتَيْنِ رَكْعَتَيْنِ فِي الْحَضَرِ وَالسَّفَرِ، فَأُقِرَّتْ صَلاَةُ السَّفَرِ، وَزِيدَ فِي صَلاَةِ الْحَضَرِ "
อับดุลลอฮ์ อิบนุ ยูซุบ เล่าให้เราฟังโดยกล่าวว่า มาลิก บอกกับเรา จาก ศอและห์ บิน กัยซาน จาก อุรวะห์ บิน อัซซุบัยร์ จาก ท่านหญิงอาอิชะห์ มารดาแห่งปวงผู้ศรัทธา ได้กล่าวว่า พระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงบัญญัติการละหมาด โดยทรงบัญญัติทีละสองร๊อกอะห์ สองร๊อกอะห์ ในสภวาะปกติ และการเดินทาง โดยการละหมาดสำหรับการเดินทางยังถูกกำหนดเหมือนเดิม แต่ได้เพิ่ม (จำนวนร๊อกอะห์) ในการละหมาดยามปกติ
บุคอรี/หมวดที่ 8/บทที่ 1/ฮะดีษเลขที่ 350
หะดิษเศาะเฮียะห์มุสลิม ว่าด้วยผู้ที่เสียชีวิตโดยไม่นำสิ่งใดเป็นภาคีกับอัลลอฮ์ เขาได้เข้าสวรรค์
عَنِ الْمَعْرُورِ بْنِ سُوَيْدٍ، قَالَ سَمِعْتُ أَبَا ذَرٍّ، يُحَدِّثُ عَنِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم أَنَّهُ قَالَ " أَتَانِي جِبْرِيلُ - عَلَيْهِ السَّلاَمُ - فَبَشَّرَنِي أَنَّهُ مَنْ مَاتَ مِنْ أُمَّتِكَ لاَ يُشْرِكُ بِاللَّهِ شَيْئًا دَخَلَ الْجَنَّةَ " . قُلْتُ وَإِنْ زَنَى وَإِنْ سَرَقَ . قَالَ " وَإِنْ زَنَى وَإِنْ سَرَقَ "
มะอ์รูร บิน ซุวัยด์ รายงานว่า ฉันเคยได้ยิน อบูซัรริน ได้กล่าวถึงท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมว่า ท่านนบีกล่าวว่า “ญิบรีล อลัยฮิสสลาม มาหาฉันและจ้งข่าวดีกับฉันว่า ประชาชาตของท่านคนใดที่เสียชีวิตโดยไม่นำสิ่งใดเป็นภาคีกับอัลลอฮ์ เขาได้เข้าสวรรค์ ฉันถามว่า แม้เขาจะละเมิดประเวณีหรือลักขโมยเช่นนั้นหรือ เขาตอบว่า ใช่ ! แม้เขาจะละเมิดประเวณีและลักขโมย
มุสลิม/หมวดที่1/บทที่42/ฮะดีษเลขที่ 0171
หะดิษเศาะเฮียะห์มุสลิม ว่าด้วยไม่ละเมิดประเวณี ไม่ลักขโมย และไม่ดื่มน้ำเมาขณะเป็นผู้ศรัทธา
قَالَ أَبُو هُرَيْرَةَ إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم قَالَ " لاَ يَزْنِي الزَّانِي حِينَ يَزْنِي وَهُوَ مُؤْمِنٌ وَلاَ يَسْرِقُ السَّارِقُ حِينَ يَسْرِقُ وَهُوَ مُؤْمِنٌ وَلاَ يَشْرَبُ الْخَمْرَ حِينَ يَشْرَبُهَا وَهُوَ مُؤْمِنٌ " . قَالَ ابْنُ شِهَابٍ فَأَخْبَرَنِي عَبْدُ الْمَلِكِ بْنُ أَبِي بَكْرِ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ أَنَّ أَبَا بَكْرٍ كَانَ يُحَدِّثُهُمْ هَؤُلاَءِ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ ثُمَّ يَقُولُ وَكَانَ أَبُو هُرَيْرَةَ يُلْحِقُ مَعَهُنَّ " وَلاَ يَنْتَهِبُ نُهْبَةً ذَاتَ شَرَفٍ يَرْفَعُ النَّاسُ إِلَيْهِ فِيهَا أَبْصَارَهُمْ حِينَ يَنْتَهِبُهَا وَهُوَ مُؤْمِنٌ "
อบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลออ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้ละเมิดประเวณีเขาจะไม่ละเมิดประเวณีในขณะที่เขาเป็นผู้ศรัทธา, ผู้ที่ลักขโมยเขาจะไม่ลักขโมยในขณะที่เขาเป็นผู้ศรัทธา, และเขาจะไม่ดื่มน้ำเมาในขณะที่เขาดื่มนั้นเขาเป็นผู้ศรัทธา“
อิบนุซิฮาบ กล่าวว่า อับดุลมาลิก อิบนุอบีบักร์ อิบนิอับดิรเราะห์มาน ได้เล่าให้ฉันฟังว่า แท้จริงอบีบักร์ได้สนทนากับพวกเขาเกี่ยวกับฮะดีษบทนี้ จากอบีฮุรอยเราะห์ โดยกล่าวว่า อบูฮุรอยเราะห์นั้นได้รายงานข้อความต่อท้ายว่า “ไม่มีโจรคนใดปล้นทรัพย์ที่มีค่าอย่างอุกอาจโดยไม่หวั่นเกรงสายตาผู้อื่น ซึ่งในขณะที่เขากำลังปล้นอยู่นั้นเขาเป็นผู้ศรัทธา”
มุสลิม/หมวดที่1/บทที่26/ฮะดีษเลขที่ 0104
عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ، أَنَّ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم قَالَ " لاَ يَزْنِي الزَّانِي حِينَ يَزْنِي وَهُوَ مُؤْمِنٌ وَلاَ يَسْرِقُ حِينَ يَسْرِقُ وَهُوَ مُؤْمِنٌ وَلاَ يَشْرَبُ الْخَمْرَ حِينَ يَشْرَبُهَا وَهُوَ مُؤْمِنٌ وَالتَّوْبَةُ مَعْرُوضَةٌ بَعْدُ " .
อบีฮุรอยเราะห์ รายงานว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ผู้ละเมิดประเวณีเขาจะไม่ละเมิดประเวณีในขณะเขาเป็นผู้ศรัทธา, เขาจะไม่ลักขโมยในขณะที่เขาลักขโมยเขาเป็นผู้ศรัทธา, และเขาจะไม่ดื่มน้ำเมาในขณะที่เขาเป็นผู้ศรัทธา, แต่การสำนึกในความผิดจะถูกอ้อนวอนหลังจากนั้น (หลังจากกลับตัวแล้ว)"
มุสลิม/หมวดที่1/บทที่26/ฮะดีษเลขที่ 0109
หะดิษเศาะเฮียะห์บุคอรี ว่าด้วยให้สัตยาบันว่าไม่ตั้งภาคี ไม่ลักขโมย...
أَنَّ عُبَادَةَ بْنَ الصَّامِتِ ـ رضى الله عنه ـ وَكَانَ شَهِدَ بَدْرًا، وَهُوَ أَحَدُ النُّقَبَاءِ لَيْلَةَ الْعَقَبَةِ ـ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم قَالَ وَحَوْلَهُ عِصَابَةٌ مِنْ أَصْحَابِهِ " بَايِعُونِي عَلَى أَنْ لاَ تُشْرِكُوا بِاللَّهِ شَيْئًا، وَلاَ تَسْرِقُوا، وَلاَ تَزْنُوا، وَلاَ تَقْتُلُوا أَوْلاَدَكُمْ، وَلاَ تَأْتُوا بِبُهْتَانٍ تَفْتَرُونَهُ بَيْنَ أَيْدِيكُمْ وَأَرْجُلِكُمْ، وَلاَ تَعْصُوا فِي مَعْرُوفٍ، فَمَنْ وَفَى مِنْكُمْ فَأَجْرُهُ عَلَى اللَّهِ، وَمَنْ أَصَابَ مِنْ ذَلِكَ شَيْئًا فَعُوقِبَ فِي الدُّنْيَا فَهُوَ كَفَّارَةٌ لَهُ، وَمَنْ أَصَابَ مِنْ ذَلِكَ شَيْئًا ثُمَّ سَتَرَهُ اللَّهُ، فَهُوَ إِلَى اللَّهِ إِنْ شَاءَ عَفَا عَنْهُ، وَإِنْ شَاءَ عَاقَبَهُ ". فَبَايَعْنَاهُ عَلَى ذَلِكَ.
ท่านอุบาดะห์ บิน อัสศอมิต (ขอพระองค์อัลลออ์ทรงพอพระทัยต่อท่านด้วยเถิด) ได้เคยร่วมในสงครามบะดัร และเป็นแกนนำในคืน (ให้สัตยาบัน) ที่อะกอบะห์ (รายงานว่า)
แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลออ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว (ข้อความต่อไปนี้) ขณะที่มีศอฮาบะห์กลุ่มหนึ่งอยู่รอบตัวท่าน “เจ้าทั้งหลายจงให้สัตยาบันต่อฉันเถิด (1)ในการที่ท่านจะไม่นำสิ่งใดมาเป็นภาคีต่อพระองค์อัลลออ์ (2) จะไม่ลักขโมย (3) ไม่ละเมิดประเวณี (4) จะไม่ฆ่าลูกๆ ของพวกเจ้า (5) ไม่กุข่าวเท็จที่พวกเจ้าอุปโลกน์มันขึ้นมาใส่ความผู้อื่น (6) ไม่ฝ่าฝืนคำสั่ง
และผู้ใดรักษาคำสัตยาบันได้อย่างครถ้วน รางวัลของเขาย่อมมี ณ.ที่อัลลออ์อย่างแน่นอน ส่วนผู้ใดละเมิดสัตยาบันข้อใด เขาจะถูกลงโทษโลกนี้ มันคือการไถ่โทษในความผิดของเขา แต่หากผู้ใดละเมิดสัตยาบันข้อใดแล้วอัลลอฮ์ได้ปกปิดให้แก่เขา ก็เป็นสิทธิแด่อัลลอฮ์ หากพระองค์ทรงประสงค์ ก็จะทรงให้อภัยแก่เขา และหากพระองค์ทรงประสงค์ก็จะทรงลงโทษเขา” (อุบาดะห์กล่าวว่า) พวกเราจึงได้ให้สัตยาบันต่อท่านในเรื่องดังกล่าว
บุคคอรี/หมวดที่2/บทที่11/ฮะดีษเลขที่ 18
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หะดิษเศาะเฮียะฮ์มุสลิม ว่าด้วยกลุ่มที่เชื่อฟังท่านนบีและกลุ่มที่ทำในสิ่งที่ท่านนบีมิได้ทรงใช้
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ مَسْعُودٍ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم قَالَ " مَا مِنْ نَبِيٍّ بَعَثَهُ اللَّهُ فِي أُمَّةٍ قَبْلِي إِلاَّ كَانَ لَهُ مِنْ أُمَّتِهِ حَوَارِيُّونَ وَأَصْحَابٌ يَأْخُذُونَ بِسُنَّتِهِ وَيَقْتَدُونَ بِأَمْرِهِ ثُمَّ إِنَّهَا تَخْلُفُ مِنْ بَعْدِهِمْ خُلُوفٌ يَقُولُونَ مَا لاَ يَفْعَلُونَ وَيَفْعَلُونَ مَا لاَ يُؤْمَرُونَ فَمَنْ جَاهَدَهُمْ بِيَدِهِ فَهُوَ مُؤْمِنٌ وَمَنْ جَاهَدَهُمْ بِلِسَانِهِ فَهُوَ مُؤْمِنٌ وَمَنْ جَاهَدَهُمْ بِقَلْبِهِ فَهُوَ مُؤْمِنٌ وَلَيْسَ وَرَاءَ ذَلِكَ مِنَ الإِيمَانِ حَبَّةُ خَرْدَلٍ " . قَالَ أَبُو رَافِعٍ فَحَدَّثْتُهُ عَبْدَ اللَّهِ بْنَ عُمَرَ فَأَنْكَرَهُ عَلَىَّ فَقَدِمَ ابْنُ مَسْعُودٍ فَنَزَلَ بِقَنَاةَ فَاسْتَتْبَعَنِي إِلَيْهِ عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عُمَرَ يَعُودُهُ فَانْطَلَقْتُ مَعَهُ فَلَمَّا جَلَسْنَا سَأَلْتُ ابْنَ مَسْعُودٍ عَنْ هَذَا الْحَدِيثِ فَحَدَّثَنِيهِ كَمَا حَدَّثْتُهُ ابْنَ عُمَرَ . قَالَ صَالِحٌ وَقَدْ تُحُدِّثَ بِنَحْوِ ذَلِكَ عَنْ أَبِي رَافِعٍ .
รายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบนิมัสอู๊ด ว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีนบีคนใดที่อัลลอฮ์ได้ทรงแต่งตั้งเขามาก่อนหน้าฉัน นอกจากในประชาชาติของเขาจะมีผู้ให้การสนับสนุน และสาวกที่ยึดถือแนวทางของเขา, พวกเขาเหล่านั้นจะปฏิบัติตามและเชื่อฟังคำสั่งของนบี แล้วก็จะมีคนอีกรุ่นหนึ่งในยุคถัดมาหลังจากพวกเขา, โดยคนเหล่านั้นจะพูดในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้ทำ, และจะทำในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้ถูกใช้, ฉะนั้นใครที่ต่อต้านพวกแหล่านี้ด้วยมือของเขา, เขาคือผู้ศรัทธา, และใครที่ต่อต้านพวกเหล่านี้ด้วยลิ้น (คำพูด) ของพวกเขา, เขาก็คือผู้ศรัทธา, และผู้ใดที่ต่อต้านพวกเขาเหล่านั้นด้วยหัวใจของเขา, เขาก็คือผู้ศรัทธา แต่ถ้านอกเหนือจากนี้แล้ว ก็ถือว่าไม่มีศรัทธาแม้เพียงเมล็ดผักกาด”
อบูรอเฟียะอ์ ได้กล่าวว่า ฉันได้เล่าฮะดีษบทนี้ให้ อับดุลลอฮ์ อิบนิอุมัรฟัง แต่เขาแย้งฉัน, ขณะนั้นอับดุลลอฮ์ อิบนิมัสอู๊ดได้เดินทางมา (จากอิรัคมานครมะดีนะห์) ถึงพอดี แต่ท่านแวะพักที่หุบเขา (ด้านนอกเมือง) และอับดุลลอฮ์ อิบนิอุมัร ต้องการให้ฉันตามเขาไปเพื่อพบปะเยี่ยมเยียนอิบนิมัสอู๊ดด้วย ฉันจึงไปหา ( อิบนิมัสอู๊ด) พร้อมกับ (อิบนิอุมัร) เมื่อเราไปถึง ฉันก็ถามอิบนิมัสอู๊ดเกี่ยวกับฮะดีษนี้ ซึ่งเขารายงานให้ฟังเช่นเดียวกับที่ฉันรายงานให้ อิบนิอุมัรฟังเช่นเดียวกัน
ซอและห์ได้กล่าวว่า ได้รับรายงานฮะดีษบทนี้เช่นเดียวกันจาก อบีรอเฟียะอ์
มุสลิม/หมวดที่1/บทที่22/ฮะดีษเลขที่ 0081
วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หะดิษเศาะเฮียะห์บุคอรี ว่าด้วยการทำก่อนหลังในการทำพิธีฮัจญ์
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرِو بْنِ الْعَاصِ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم وَقَفَ فِي حَجَّةِ الْوَدَاعِ بِمِنًى لِلنَّاسِ يَسْأَلُونَهُ، فَجَاءَهُ رَجُلٌ فَقَالَ لَمْ أَشْعُرْ فَحَلَقْتُ قَبْلَ أَنْ أَذْبَحَ. فَقَالَ " اذْبَحْ وَلاَ حَرَجَ ". فَجَاءَ آخَرُ فَقَالَ لَمْ أَشْعُرْ، فَنَحَرْتُ قَبْلَ أَنْ أَرْمِيَ. قَالَ " ارْمِ وَلاَ حَرَجَ ". فَمَا سُئِلَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم عَنْ شَىْءٍ قُدِّمَ وَلاَ أُخِّرَ إِلاَّ قَالَ افْعَلْ وَلاَ حَرَجَ
อับดุลลอฮ์ อิบนิอัมร์ อิบนิอาศ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้หยุด (อูฐที่ท่านขี่) ขณะอยู่ที่มีนา ในการทำฮัจญ์ครั้งอำลาของท่านเพื่อบรรดาผู้คน พวกเขาจะได้ถามท่าน (เกี่ยวกับการปฏิบัติพิธีฮัจญ์อย่างสมบูรณ์) มีชายผู้หนึ่งมาหาท่านแล้วกล่าวว่า ฉันลืม ! ฉันจึงโกนศีรษะก่อนที่จะเชือด ท่านตอบว่า “เชือดเถอะ ไม่เป็นไร” แล้วก็มีชายอีกคนหนึ่งมาหาแล้วถามว่า ฉันลืม ! ฉันจึงได้เชือดอูฐก่อนที่จะขว้างเสาหิน ท่านตอบว่า “ไปขว้างเสาหินเถอะ ไม่เป็นไร”
ไม่ว่าท่านนบีจะถูกถามเกี่ยวกับเรื่องใด (ในการทำพิธีฮัจญ์) ว่าจะทำก่อนหรือหลัง ท่านก็จะบอกว่า ทำเถอะ ไม่เป็นไร
บุคคอรี/หมวดที่3/บทที่23/ฮะดีษเลขที่ 83
หะดิษเศาะเฮียะห์มุสลิม ว่าด้วยไม่มีการยกมือระหว่างสองสุญูด
حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ يَحْيَى التَّمِيمِيُّ، وَسَعِيدُ بْنُ مَنْصُورٍ، وَأَبُو بَكْرِ بْنُ أَبِي شَيْبَةَ وَعَمْرٌو النَّاقِدُ وَزُهَيْرُ بْنُ حَرْبٍ وَابْنُ نُمَيْرٍ كُلُّهُمْ عَنْ سُفْيَانَ بْنِ عُيَيْنَةَ، - وَاللَّفْظُ لِيَحْيَى قَالَ أَخْبَرَنَا سُفْيَانُ بْنُ عُيَيْنَةَ، - عَنِ الزُّهْرِيِّ، عَنْ سَالِمٍ، عَنْ أَبِيهِ، قَالَ رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم إِذَا افْتَتَحَ الصَّلاَةَ رَفَعَ يَدَيْهِ حَتَّى يُحَاذِيَ مَنْكِبَيْهِ وَقَبْلَ أَنْ يَرْكَعَ وَإِذَا رَفَعَ مِنَ الرُّكُوعِ وَلاَ يَرْفَعُهُمَا بَيْنَ السَّجْدَتَيْنِ
ซาลิม ได้รายงานจากพ่อของเขาว่า ฉันเคยเห็นท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เมื่อท่านเริ่มละหมาด ท่านจะยกมือทั้งสองของท่านจนกระทั่งเสมอบ่า และยกมือทั้งสองก่อนที่จะรุกัวอ์ และขณะเงยขึ้นจากรุกัวอ์ก็เช่นเดียวกัน แต่ท่านไม่ได้ยกมือระหว่างสองสุญูด
มุสลิม/หมวดที่4/บทที่9/ฮะดีษเลขที่ 0758
حَدَّثَنِي مُحَمَّدُ بْنُ رَافِعٍ، حَدَّثَنَا عَبْدُ الرَّزَّاقِ، أَخْبَرَنَا ابْنُ جُرَيْجٍ، حَدَّثَنِي ابْنُ شِهَابٍ، عَنْ سَالِمِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ، أَنَّ ابْنَ عُمَرَ، قَالَ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم إِذَا قَامَ لِلصَّلاَةِ رَفَعَ يَدَيْهِ حَتَّى تَكُونَا حَذْوَ مَنْكِبَيْهِ ثُمَّ كَبَّرَ فَإِذَا أَرَادَ أَنْ يَرْكَعَ فَعَلَ مِثْلَ ذَلِكَ وَإِذَا رَفَعَ مِنَ الرُّكُوعِ فَعَلَ مِثْلَ ذَلِكَ وَلاَ يَفْعَلُهُ حِينَ يَرْفَعُ رَأْسَهُ مِنَ السُّجُودِ
อับดุลลอฮ์ อิบนิอุมัร รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม นั้นเมื่อท่านยืนละหมาด ท่านจะยกมือทั้งสองของท่านจนกระทั่งเสมอบ่าแล้วกล่าวตักบีร (อัลลอฮุอั๊กบัร) และเมื่อท่านต้องการรุกัวอ์ท่านก็จะยกมือเหมือนตอนตั๊กบีร และเมื่อท่านเงยขึ้นจากรุกัวอ์ ท่านก็จะยกมือเช่นเดียวกัน แต่ท่านจะไม่ยกมือทั้งสองของท่านขณะเงยขึ้นจากสุญูด
มุสลิม/หมวดที่4/บทที่9/ฮะดีษเลขที่ 0759
วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยนั่งหลับไม่สนิทไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด
حَدَّثَنَا عُبَيْدُ اللَّهِ بْنُ مُعَاذٍ الْعَنْبَرِيُّ، حَدَّثَنَا أَبِي، حَدَّثَنَا شُعْبَةُ، عَنْ عَبْدِ الْعَزِيزِ بْنِ صُهَيْبٍ، سَمِعَ أَنَسَ بْنَ مَالِكٍ، قَالَ أُقِيمَتِ الصَّلاَةُ وَالنَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم يُنَاجِي رَجُلاً فَلَمْ يَزَلْ يُنَاجِيهِ حَتَّى نَامَ أَصْحَابُهُ ثُمَّ جَاءَ فَصَلَّى بِهِمْ
อนัส บินมาลิก รายงานว่า การละหมาดได้ถูกประกาศขึ้น (อิกอมะห์) ขณะที่ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กำลังสนทนาลับอยู่กับชายคนหนึ่ง ซึ่งท่านยังคงสนทนาต่อไปจนกระทั่ง ศอฮาบะห์ของท่านบางคนนั่งหลับ หลังจากนั้นท่านก็มานำละหมาดพวกเขา
มุสลิม/หมวดที่3/บทที่33/ฮะดีษเลขที่ 0732
حَدَّثَنِي زُهَيْرُ بْنُ حَرْبٍ، حَدَّثَنَا إِسْمَاعِيلُ ابْنُ عُلَيَّةَ، ح وَحَدَّثَنَا شَيْبَانُ بْنُ فَرُّوخَ، حَدَّثَنَا عَبْدُ الْوَارِثِ، كِلاَهُمَا عَنْ عَبْدِ الْعَزِيزِ، عَنْ أَنَسٍ، قَالَ أُقِيمَتِ الصَّلاَةُ وَرَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم نَجِيٌّ لِرَجُلٍ - وَفِي حَدِيثِ عَبْدِ الْوَارِثِ وَنَبِيُّ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يُنَاجِي الرَّجُلَ - فَمَا قَامَ إِلَى الصَّلاَةِ حَتَّى نَامَ الْقَوْمُ
อนัส (บินมาลิก) รายงานว่า การละหมาดได้ถูกประกาศขึ้น (อิกอมะห์) ขณะที่ท่านนบี กำลังสนทนาลับอยู่กับชายคนหนึ่ง ส่วนฮะดีษทางสายรายงานของ อับดุลวาริษ กล่าวว่า นบีของอัลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กำลังสนทนาลับอยู่กับชายคนหนึ่ง ท่านจึงยังไม่ได้มานำละหมาด (เหล่าศอฮาบะห์ได้คอยท่าน) จนกระทั่งบางคนได้นั่งหลับ (หลังจากนั้นท่านมานำละหมาด และพวกเขาก็ละหมาดโดยไม่ได้อาบน้ำละหมาดใหม่) ดูฮะดีษเลขที่ 0732 – 0734
มุสลิม/หมวดที่3/บทที่33/ฮะดีษเลขที่ 0731
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยไม่จำเป็นต้องอาบน้ำละหมาดเมื่อจะรับประทานอาหาร
وَحَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ يَحْيَى، أَخْبَرَنَا مُحَمَّدُ بْنُ مُسْلِمٍ الطَّائِفِيُّ، عَنْ عَمْرِو بْنِ دِينَارٍ، عَنْ سَعِيدِ بْنِ الْحُوَيْرِثِ، مَوْلَى آلِ السَّائِبِ أَنَّهُ سَمِعَ عَبْدَ اللَّهِ بْنَ عَبَّاسٍ، قَالَ ذَهَبَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم إِلَى الْغَائِطِ فَلَمَّا جَاءَ قُدِّمَ لَهُ طَعَامٌ فَقِيلَ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَلاَ تَوَضَّأُ . قَالَ " لِمَ أَلِلصَّلاَةِ "
อับดุลลอฮ์ อิบนิ อับบาส รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้ไปถ่ายทุกข์ เมื่อท่านกลับมา ก็มีผู้นำอาหารมาให้ท่านรับประทาน มีผู้กล่าวแก่ท่านว่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ ท่านจะไม่อาบน้ำละหมาด (ก่อนรับประทานอาหาร) หรือ ท่านกล่าวว่า ทำไมละ จะละหมาดหรืออย่างไร (น้ำละหมาดจำเป็นสำหรับการละหมาดไม่ใช่หรือ)
มุสลิม/หมวดที่3/บทที่31/ฮะดีษเลขที่ 0727
หะดิามุสลิม ว่าด้วยการกินเนื้ออูฐทำให้เสียน้ำละหมาด และการห้ามละหมาดในคอกอูฐ
حَدَّثَنَا أَبُو كَامِلٍ، فُضَيْلُ بْنُ حُسَيْنٍ الْجَحْدَرِيُّ حَدَّثَنَا أَبُو عَوَانَةَ، عَنْ عُثْمَانَ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ مَوْهَبٍ، عَنْ جَعْفَرِ بْنِ أَبِي ثَوْرٍ، عَنْ جَابِرِ بْنِ سَمُرَةَ، أَنَّ رَجُلاً، سَأَلَ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم أَأَتَوَضَّأُ مِنْ لُحُومِ الْغَنَمِ قَالَ " إِنْ شِئْتَ فَتَوَضَّأْ وَإِنْ شِئْتَ فَلاَ تَوَضَّأْ " . قَالَ أَتَوَضَّأُ مِنْ لُحُومِ الإِبِلِ قَالَ " نَعَمْ فَتَوَضَّأْ مِنْ لُحُومِ الإِبِلِ " . قَالَ أُصَلِّي فِي مَرَابِضِ الْغَنَمِ قَالَ " نَعَمْ " . قَالَ أُصَلِّي فِي مَبَارِكِ الإِبِلِ قَالَ " لاَ "
ญาบิร อิบนุ ซะมุเราะห์ รายงานว่า มีชายผู้หนึ่งถามท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ว่า ฉันต้องอาบน้ำละหมาดหลังจากรับประทานเนื้อแพะหรือไม่ ท่านตอบว่า หากประสงค์จะอาบน้ำละหมาดก็ทำเถิด และหากไม่ประสงค์จะอาบน้ำละหมาดก็ไม่เป็นไร เขาถามต่อไปว่า ฉันต้องอาบน้ำละหมาดหลังจากรับประทานเนื้ออูฐหรือไม่ ท่านตอบว่า ใช่ ต้องอาบน้ำละหมาดหลังจากรับประทานเนื้ออูฐ เขาถามว่า ฉันจะละหมาดในคอกแพะได้ไหม ท่านตอบว่า ได้ เขาถามอีกว่า ฉันจะละหมาดในคอกอูฐได้ไหม ท่านตอบว่า ไม่ได้
มุสลิม/หมวดที่3/บทที่25/ฮะดีษเลขที่ 0700
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยการรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด
حَدَّثَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ مَسْلَمَةَ بْنِ قَعْنَبٍ، حَدَّثَنَا مَالِكٌ، عَنْ زَيْدِ بْنِ أَسْلَمَ، عَنْ عَطَاءِ بْنِ يَسَارٍ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم أَكَلَ كَتِفَ شَاةٍ ثُمَّ صَلَّى وَلَمْ يَتَوَضَّأْ
อิบนุ อับบาส รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เคยรับประทานขาหน้าของแกะ แล้วท่านก็ไปละหมาดโดยไม่ได้อาบน้ำละหมาด
มุสลิม/หมวดที่3/บทที่24/ฮะดีษเลขที่ 0689
وَحَدَّثَنَا زُهَيْرُ بْنُ حَرْبٍ، حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ سَعِيدٍ، عَنْ هِشَامِ بْنِ عُرْوَةَ، أَخْبَرَنِي وَهْبُ بْنُ كَيْسَانَ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ عَمْرِو بْنِ عَطَاءٍ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ، ح وَحَدَّثَنِي الزُّهْرِيُّ، عَنْ عَلِيِّ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَبَّاسٍ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ، ح وَحَدَّثَنِي مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيٍّ، عَنْ أَبِيهِ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ، أَنَّ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم أَكَلَ عَرْقًا - أَوْ لَحْمًا - ثُمَّ صَلَّى وَلَمْ يَتَوَضَّأْ وَلَمْ يَمَسَّ مَاءً
อิบนิ อับบาส รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เคยรับประทานเนื้อติดกระดูก หรือเนื้อสัตว์ หลังจากนั้นท่านก็ไปละหมาดโดยไม่ได้อาบน้ำละหมาด และไม่ได้สัมผัสน้ำเลยแม้แต่น้อย
มุสลิม/หมวดที่3/บทที่24/ฮะดีษเลขที่ 0690
وَحَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ الصَّبَّاحِ، حَدَّثَنَا إِبْرَاهِيمُ بْنُ سَعْدٍ، حَدَّثَنَا الزُّهْرِيُّ، عَنْ جَعْفَرِ بْنِ عَمْرِو بْنِ أُمَيَّةَ الضَّمْرِيِّ، عَنْ أَبِيهِ، أَنَّهُ رَأَى رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَحْتَزُّ مِنْ كَتِفٍ يَأْكُلُ مِنْهَا ثُمَّ صَلَّى وَلَمْ يَتَوَضَّأْ
ญะอ์ฟัร อิบนุ อัมร์ อิบนุ อุมัยยะห์ อัดดอมรีย์ รายงานจากพ่อของเขาว่า เขาเคยเห็นท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เฉือนขาหน้าของแกะแล้วก็รับประทานมัน หลังจากนั้นท่านก็ไปละหมาดโดยไม่ได้อาบน้ำละหมาด
มุสลิม/หมวดที่3/บทที่24/ฮะดีษเลขที่ 0691
حَدَّثَنِي أَحْمَدُ بْنُ عِيسَى، حَدَّثَنَا ابْنُ وَهْبٍ، أَخْبَرَنِي عَمْرُو بْنُ الْحَارِثِ، عَنِ ابْنِ شِهَابٍ، عَنْ جَعْفَرِ بْنِ عَمْرِو بْنِ أُمَيَّةَ الضَّمْرِيِّ، عَنْ أَبِيهِ، قَالَ رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَحْتَزُّ مِنْ كَتِفِ شَاةٍ فَأَكَلَ مِنْهَا فَدُعِيَ إِلَى الصَّلاَةِ فَقَامَ وَطَرَحَ السِّكِّينَ وَصَلَّى وَلَمْ يَتَوَضَّأْ . قَالَ ابْنُ شِهَابٍ وَحَدَّثَنِي عَلِيُّ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَبَّاسٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم بِذَلِكَ
ญะอ์ฟัร อิบนุ อัมร์ อิบนุ อุมัยยะห์ อัดดอมรีย์ รายงานจากพ่อของเขาว่า ฉันเคยเห็นท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เฉือนขาหน้าของแกะและรับประทานมัน หลังนั้นเสียงอะซานแจ้งเวลาละหมาดก็ดังขึ้น ท่านวางมีด แล้วลุกขึ้นไปละหมาดโดยไม่ได้อาบน้ำละหมาด
อิบนุซิฮาบ กล่าวว่า อาลี อิบนุ อับดิลลาฮ์ อิบนิ อับบาส รายงานขจากพ่อของเขา (อิบนิอับบาส) จากท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน
มุสลิม/หมวดที่3/บทที่24/ฮะดีษเลขที่ 0692
قَالَ عَمْرٌو وَحَدَّثَنِي بُكَيْرُ بْنُ الأَشَجِّ، عَنْ كُرَيْبٍ، مَوْلَى ابْنِ عَبَّاسٍ عَنْ مَيْمُونَةَ، زَوْجِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم أَنَّ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم أَكَلَ عِنْدَهَا كَتِفًا ثُمَّ صَلَّى وَلَمْ يَتَوَضَّأْ
กุรัยบ์ คนรับใช้ของ อิบนิ อับบาส รายงานจากท่านหญิง มัยมูนะห์ คู่ครองของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ว่า ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เคยรับประทานขาหน้าของแกะที่บ้านของเธอ หลังจากนั้นท่านก็ไปละหมาดโดยไม่ได้อาบน้ำละหมาด
มุสลิม/หมวดที่3/บทที่24/ฮะดีษเลขที่ 0693
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยการละหมาดที่ถูกต้อง
حَدَّثَنِي مُحَمَّدُ بْنُ الْمُثَنَّى، حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ سَعِيدٍ، عَنْ عُبَيْدِ اللَّهِ، قَالَ حَدَّثَنِي سَعِيدُ بْنُ أَبِي سَعِيدٍ، عَنْ أَبِيهِ، عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم دَخَلَ الْمَسْجِدَ فَدَخَلَ رَجُلٌ فَصَلَّى ثُمَّ جَاءَ فَسَلَّمَ عَلَى رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَرَدَّ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم السَّلاَمَ قَالَ " ارْجِعْ فَصَلِّ فَإِنَّكَ لَمْ تُصَلِّ " . فَرَجَعَ الرَّجُلُ فَصَلَّى كَمَا كَانَ صَلَّى ثُمَّ جَاءَ إِلَى النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم فَسَلَّمَ عَلَيْهِ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم " وَعَلَيْكَ السَّلاَمُ " . ثُمَّ قَالَ " ارْجِعْ فَصَلِّ فَإِنَّكَ لَمْ تُصَلِّ " . حَتَّى فَعَلَ ذَلِكَ ثَلاَثَ مَرَّاتٍ فَقَالَ الرَّجُلُ وَالَّذِي بَعَثَكَ بِالْحَقِّ مَا أُحْسِنُ غَيْرَ هَذَا عَلِّمْنِي . قَالَ " إِذَا قُمْتَ إِلَى الصَّلاَةِ فَكَبِّرْ ثُمَّ اقْرَأْ مَا تَيَسَّرَ مَعَكَ مِنَ الْقُرْآنِ ثُمَّ ارْكَعْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ رَاكِعًا ثُمَّ ارْفَعْ حَتَّى تَعْتَدِلَ قَائِمًا ثُمَّ اسْجُدْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ سَاجِدًا ثُمَّ ارْفَعْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ جَالِسًا ثُمَّ افْعَلْ ذَلِكَ فِي صَلاَتِكَ كُلِّهَا "
อบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้เข้าไปในมัสยิด และชายอีกคนหนึ่งก็ได้เข้าไปในมัสยิดด้วย โดยเขาได้ละหมาด (ตะฮียะตุ้ลมัสยิดก่อน) หลังจากนั้นเขาก็มาให้สลามกับท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ก็รับสลาม แล้วกล่าวว่า เจ้าจงกลับไปละหมาดใหม่ เพราะเจ้ายังไม่ได้ละหมาด ชายคนดังกล่าวก็กลับไปละหมาดอีกครั้งเหมือนกับที่เขาได้ละหมาดก่อนหน้านี้ เมื่อเสร็จแล้วเขาก็มาหาท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม แล้วให้สลามกับท่านอีกครั้ง ท่านรอซูลุ้ลลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ตอบว่า วะอะลัยกัสสลาม แล้วกล่าวกับเขาว่า จงกลับไปละหมาดใหม่ เพราะเจ้ายังไม่ได้ละหมาด จนกระทั่งเขาทำเช่นนั้นอยู่สามครั้ง หลังจากนั้นชายผู้นี้ได้กล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ผู้ทรงแต่งตั้งท่านมาด้วยสัจธรรม สิ่งใดที่ฉันสามารถทำได้ดีกว่านี้ก็โปรดสอนฉันด้วยเถิด ท่านกล่าวว่า เมื่อเจ้ายืนละหมาดก็จงตั๊กบีร หลังจากนั้นก็อ่านอัลกุรอานง่ายๆที่เจ้าสามารถอ่านได้ แล้วรุกัวอ์ จนกระทั่งอยู่ในท่าที่สงบนิ่ง และเงยศีรษะขึ้นมาจนกระทั่งอยู่ในท่ายืนตรง แล้วสุญูดจนกระทั่งอยู่ในท่าสงบนิ่ง และเงยขึ้นมาจนกระทั่งนั่งในท่าสงบนิ่ง โดยทำเช่นนี้ในละหมาดของเจ้าทุกครั้ง
มุสลิม/หมวดที่4/บทที่11/ฮะดีษเลขที่ 0781
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยการยกมือพร้อมตั๊กบีรในละหมาด
حَدَّثَنَا زُهَيْرُ بْنُ حَرْبٍ، حَدَّثَنَا عَفَّانُ، حَدَّثَنَا هَمَّامٌ، حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ جُحَادَةَ، حَدَّثَنِي عَبْدُ الْجَبَّارِ بْنُ وَائِلٍ، عَنْ عَلْقَمَةَ بْنِ وَائِلٍ، وَمَوْلًى، لَهُمْ أَنَّهُمَا حَدَّثَاهُ عَنْ أَبِيهِ، وَائِلِ بْنِ حُجْرٍ، أَنَّهُ رَأَى النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم رَفَعَ يَدَيْهِ حِينَ دَخَلَ فِي الصَّلاَةِ كَبَّرَ - وَصَفَ هَمَّامٌ حِيَالَ أُذُنَيْهِ - ثُمَّ الْتَحَفَ بِثَوْبِهِ ثُمَّ وَضَعَ يَدَهُ الْيُمْنَى عَلَى الْيُسْرَى فَلَمَّا أَرَادَ أَنْ يَرْكَعَ أَخْرَجَ يَدَيْهِ مِنَ الثَّوْبِ ثُمَّ رَفَعَهُمَا ثُمَّ كَبَّرَ فَرَكَعَ فَلَمَّا قَالَ " سَمِعَ اللَّهُ لِمَنْ حَمِدَهُ " . رَفَعَ يَدَيْهِ فَلَمَّا سَجَدَ سَجَدَ بَيْنَ كَفَّيْهِ
วาอิ้ล อิบนุฮุจริน รายงานว่า เขาเห็นท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ยกมือทั้งสองของท่านขณะเข้าละหมาดโดยท่านกล่าวตั๊กบีร ส่วนในรายงานของฮัมมาม ได้สาธยายว่า ท่านยกมือขนานกับใบหู หลังจากนั้นท่านก็จะห่อมือด้วยเสื้อของท่าน แล้วเอามือขวาทับมือซ้าย และเมื่อท่านต้องการจะรุกัวอ์ ท่านก็จะเอามือออกมาจากเสื้อแล้วยกขึ้นพร้อมทั้งกล่าวตั๊กบีรแล้วจึงทำการรุกัวอ์ และเมื่อท่าน (เงยจากรุกัวอ์แล้ว) กล่าวคำว่า ซะมิอัลลอฮุลิมันฮะมิดะห์ ท่านก็จะยกมือทั้งสองขึ้นอีก และเมื่อท่านสุญูด (ก็จะวางมือทั้งสองบนพื้น) ท่านก้มสุญูดระหว่างมือทั้งสองของท่าน
มุสลิม/หมวดที่4/บทที่14/ฮะดีษเลขที่ 0792
วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หะดิษบุคอรี ว่าด้วยกรณีลืมอาบน้ำญะนาบะห์
عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ، قَالَ أُقِيمَتِ الصَّلاَةُ، وَعُدِّلَتِ الصُّفُوفُ قِيَامًا، فَخَرَجَ إِلَيْنَا رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَلَمَّا قَامَ فِي مُصَلاَّهُ ذَكَرَ أَنَّهُ جُنُبٌ فَقَالَ لَنَا : " مَكَانَكُمْ ". ثُمَّ رَجَعَ فَاغْتَسَلَ، ثُمَّ خَرَجَ إِلَيْنَا وَرَأْسُهُ يَقْطُرُ، فَكَبَّرَ فَصَلَّيْنَا مَعَهُ
อบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ครั้งหนึ่งหลังจากการอิกอมะห์เพื่อทำการละหมาดและแถวละหมาดได้ถูกจัดเรียบร้อยแล้ว ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้ออกมานำละหมาดพวกเรา แต่เมื่อท่านเข้าไปยืนในที่ละหมาดของท่าน, ท่านก็นึกขึ้นได้ว่า ท่านมีญุนุบ (ยังไม่ได้อาบน้ำญะนาบะห์) ดังนั้นท่านจึงกล่าวแก่พวกเราว่า “พวกเจ้าจงคอยอยู่กับที่สักครู่หนึ่ง” แล้วท่านก็กลับเข้าไปอาบน้ำญะนาบะห์ เมื่อเสร็จแล้วท่านก็ออกมายังพวกเรา โดยยังมีน้ำหยดจากศีรษะของท่าน, ท่านได้ตั๊กบีรนำละหมาดและพวกเราก็ละหมาดพร้อมกับท่าน
บุคคอรี/หมวดที่5/บทที่17/ฮะดีษเลขที่ 275
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยการยกมือและกล่าวตั๊กบีรขณะยืนละหมาด
حَدَّثَنِي مُحَمَّدُ بْنُ رَافِعٍ، حَدَّثَنَا حُجَيْنٌ، - وَهُوَ ابْنُ الْمُثَنَّى - حَدَّثَنَا اللَّيْثُ، عَنْ عُقَيْلٍ، ح وَحَدَّثَنِي مُحَمَّدُ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ قُهْزَاذَ، حَدَّثَنَا سَلَمَةُ بْنُ سُلَيْمَانَ، أَخْبَرَنَا يُونُسُ، كِلاَهُمَا عَنِ الزُّهْرِيِّ، بِهَذَا الإِسْنَادِ كَمَا قَالَ ابْنُ جُرَيْجٍ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم إِذَا قَامَ لِلصَّلاَةِ رَفَعَ يَدَيْهِ حَتَّى تَكُونَا حَذْوَ مَنْكِبَيْهِ ثُمَّ كَبَّرَ
มูฮัมหมัด อิบนุรอเฟียะอ์ เล่าให้ฉันฟังว่า ฮุญัยญ์ หรืออิบนุมุซันนา เล่าให้เล่าฟังว่า อัลลัยซ์ เล่าให้เราฟังจาก อุกอยล์........
มูฮัมหมัด อิบนุอับดิลลาฮ์ บินกุฮ์ซาซ เล่าให้ฉันฟังว่า ซาละมะห์ อิบนุสุไลมาน เล่าให้เราฟังว่า อับดุลลอฮ์ ได้บอกกับเราว่า ยูนุส บอกกับเราว่า.......
ทั้งสองสายนี้นำมาจาก อัซซุฮ์รีย์ เช่นเดียวกับสายของอิบนุญุรอยญ์ (ดูฮะดีษเลขที่ 0759) ว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม นั้นเมื่อท่านยืนละหมาด ท่านก็จะยกมือทั้งสองของท่านจนกระทั่งเสมอบ่า หลังจากนั้นท่านก็จะกล่าวตั๊กบีร (อัลลอฮุอั๊กบัร)
มุสลิม/หมวดที่4/บทที่9/ฮะดีษเลขที่ 0760
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยการอ่านบิสมิ้ลลาเสียงค่อยในละหมาด
حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ مِهْرَانَ الرَّازِيُّ، حَدَّثَنَا الْوَلِيدُ بْنُ مُسْلِمٍ، حَدَّثَنَا الأَوْزَاعِيُّ، عَنْ عَبْدَةَ، أَنَّ عُمَرَ بْنَ الْخَطَّابِ، كَانَ يَجْهَرُ بِهَؤُلاَءِ الْكَلِمَاتِ يَقُولُ سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ تَبَارَكَ اسْمُكَ وَتَعَالَى جَدُّكَ وَلاَ إِلَهَ غَيْرُكَ . وَعَنْ قَتَادَةَ أَنَّهُ كَتَبَ إِلَيْهِ يُخْبِرُهُ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ أَنَّهُ حَدَّثَهُ قَالَ صَلَّيْتُ خَلْفَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم وَأَبِي بَكْرٍ وَعُمَرَ وَعُثْمَانَ فَكَانُوا يَسْتَفْتِحُونَ بِـ { الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ} لاَ يَذْكُرُونَ بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ فِي أَوَّلِ قِرَاءَةٍ وَلاَ فِي آخِرِهَا
อับดะห์ รายงานว่า (เขาได้ทราบมาว่า) ท่านอุมัร อิบนุ้ลค๊อตต๊อบ ได้อ่านออกเสียงดังด้วยถ้อยคำเหล่านี้คือ ซุบฮานะกัลลอฮุมม่าวะบิฮัมดิกะ ตะบารอกัสมุก่า วะตะอาลาญัดดุก่า วะล่าอิลาฮ่าฆ็อยรุก่า และรายงานจากก่อตาดะห์ว่า เขาได้เขียนจดหมายเพื่อแจ้งให้อับดะห์ทราบว่า ท่านอนัส บินมาลิก ได้เล่าให้เขาฟังโดยกล่าวว่า ฉันเคยละหมาดตามหลังท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม, ท่านอบูบักร์,ท่านอุมัร,และท่านอุสมาน พวกเขาเหล่านี้เริ่มละหมาด (อ่านออกเสียง) ด้วยคำว่า อัลฮัมดุลิ้ลลาฮิร๊อบบิลอาละมีน โดยพวกเขาไม่ได้กล่าว บิสมิ้ลาฮิรเราะห์มานนิรร่อฮีม (ด้วยเสียงดัง) ไม่ว่าในแรกหรือในตอนท้ายของการอ่าน
มุสลิม/หมวดที่4/บทที่13/ฮะดีษเลขที่ 0788
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยสามจำพวกที่พระองค์อัลลอฮ์จะไม่สนทนากับเขาในวันกิยามะห์
أَبِي ذَرٍّ، عَنِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم قَالَ " ثَلاَثَةٌ لاَ يُكَلِّمُهُمُ اللَّهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ الْمَنَّانُ الَّذِي لاَ يُعْطِي شَيْئًا إِلاَّ مَنَّهُ وَالْمُنَفِّقُ سِلْعَتَهُ بِالْحَلِفِ الْفَاجِرِ وَالْمُسْبِلُ إِزَارَهُ " .
รายงานจาก อบีซัรริน จากท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “มีคนสามจำพวกที่พระองค์อัลลอฮ์จะไม่สนทนากับเขาในวันกิยามะห์ คือ ผู้ที่บริจาคโดยมีข้อผูกมัด (เพื่อหวังประโยชน์กลับคืนหรือเพื่อลำเลิกบุญคุณ) และผู้จำหน่ายสินค้าโดยสาบานเท็จ, และผู้สวมเสื้อผ้าลากพื้นเพื่อการโอ้อวด”
มุสลิม/หมวดที่1/บทที่48/ฮะดีษเลขที่ 0193
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยผู้ที่สู้รบกับมุสลิมถือว่าไม่ใช่มุสลิม
عَنْ إِيَاسِ بْنِ سَلَمَةَ، عَنْ أَبِيهِ، عَنِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم قَالَ " مَنْ سَلَّ عَلَيْنَا السَّيْفَ فَلَيْسَ مِنَّا " .
อบีอิยาส รายงานจาพ่อของเขา จากท่านนบีศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “มุสลิมคนใดชักดาบออกจากฝัก (เพื่อสู้รบกับมุสลิมด้วยกัน) เขาไม่ใช่พวกของเรา
มุสลิม/หมวดที่1/บทที่44/ฮะดีษเลขที่ 0180
วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หะดิษบุคอรี ว่าด้วยการนำฮิลาบมาขยี้ศีรษะขณะอาบน้ำญะนาบะห์
عَنْ عَائِشَةَ، قَالَتْ كَانَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم إِذَا اغْتَسَلَ مِنَ الْجَنَابَةِ دَعَا بِشَىْءٍ نَحْوَ الْحِلاَبِ، فَأَخَذَ بِكَفِّهِ، فَبَدَأَ بِشِقِّ رَأْسِهِ الأَيْمَنِ ثُمَّ الأَيْسَرِ، فَقَالَ بِهِمَا عَلَى رَأْسِهِ
ท่านหญิง อาอิชะห์ รายงานว่า เมื่อท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม อาบน้ำญะนาบะห์ ท่านจะเรียกให้นำ “ฮิลาบ” หรือสิ่งที่ใกล้เคียงไปให้ โดยท่านนำมาใส่มือของท่าน แล้วเริ่มขยี้ศีรษะด้านขวา ตามด้วยด้านซ้าย หลังจากนั้นก็ขยี้ทั้งศีรษะด้วยมือทั้งสอง
หมายเหตุ บรรดามุฮัดดิซีน อธิบายคำว่า “ฮิลาบ” แตกต่างกัน, บางท่านอธิบายว่า หมายถึงอ่างอาบน้ำ แต่อีกส่วนหนึ่งเขาใจว่า เป็นชนิดหนึ่งของน้ำหอม วัลลอฮุอะอ์ลัม
บุคคอรี/หมวดที่5/บทที่6/ฮะดีษเลขที่ 258
หะดิษบุคอรี ว่าด้วยการครองเอียะห์รอม
عَنِ ابْنِ عُمَرَ، عَنِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم أَنَّ رَجُلاً سَأَلَهُ مَا يَلْبَسُ الْمُحْرِمُ فَقَالَ " لاَ يَلْبَسِ الْقَمِيصَ وَلاَ الْعِمَامَةَ وَلاَ السَّرَاوِيلَ وَلاَ الْبُرْنُسَ وَلاَ ثَوْبًا مَسَّهُ الْوَرْسُ أَوِ الزَّعْفَرَانُ، فَإِنْ لَمْ يَجِدِ النَّعْلَيْنِ فَلْيَلْبَسِ الْخُفَّيْنِ وَلْيَقْطَعْهُمَا حَتَّى يَكُونَا تَحْتَ الْكَعْبَيْنِ "
อิบนุอุมัร รายงานจากท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ว่า มีชายผู้หนึ่งถามท่าน (นบี) ว่า ผู้ครองเอียะห์รอมนั้นจะสวมใส่ชุดใด ? ท่านตอบว่า (ผู้ครองเอียะห์รอมให้ใช้ผ้าพันกายสองชิ้น) “ต้องไม่ใส่เสื้อ, ไม่โพกสะระบั่น (หรือสวมหมวก) ไม่ใส่กางเกง (รวมถึงกางใน), ไม่สวมหมวกคลุมศีรษะ, ไม่ใช้ผ้าย้อมด้วยอัลวัรซ์ (ชื่อไม้มีกลิ่นหอมใช้ย้อมผ้าให้สีเหลืองเข้ม) หรือผ้าย้อมด้วยหญ้าฝรั่น (ย้อมเป็นสีเหลือง) ถ้าเขาไม่มีรองเท้าแตะก็ให้ใส่โค๊ฟ (ถุงเท้าหรือรองเท้าหนังใช้ใส่ภายในบ้าน) แต่ต้องตัด (ส่วนที่หุ้มหน้าแข้ง) ให้สั้นต่ำกว่าตาตุ่ม”
บุคคอรี/หมวดที่3/บทที่53/ฮะดีษเลขที่ 134
วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หะดิษมุสลิม วาด้วยท่านรสูลจะไม่รับสลามขณะมีหะดัส
قَالَ مُسْلِمٌ وَرَوَى اللَّيْثُ بْنُ سَعْدٍ، عَنْ جَعْفَرِ بْنِ رَبِيعَةَ، عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ هُرْمُزَ، عَنْ عُمَيْرٍ، مَوْلَى ابْنِ عَبَّاسٍ أَنَّهُ سَمِعَهُ يَقُولُ أَقْبَلْتُ أَنَا وَعَبْدُ الرَّحْمَنِ بْنُ يَسَارٍ، مَوْلَى مَيْمُونَةَ زَوْجِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم حَتَّى دَخَلْنَا عَلَى أَبِي الْجَهْمِ بْنِ الْحَارِثِ بْنِ الصِّمَّةِ الأَنْصَارِيِّ فَقَالَ أَبُو الْجَهْمِ أَقْبَلَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم مِنْ نَحْوِ بِئْرِ جَمَلٍ فَلَقِيَهُ رَجُلٌ فَسَلَّمَ عَلَيْهِ فَلَمْ يَرُدَّ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم عَلَيْهِ حَتَّى أَقْبَلَ عَلَى الْجِدَارِ فَمَسَحَ وَجْهَهُ وَيَدَيْهِ ثُمَّ رَدَّ عَلَيْهِ السَّلاَمَ
อุมัยร์ คนรับใช้ของ อิบนิ อับบาส รายงานว่า ฉันและ อับดุรเราะห์มาน อิบนุ ยะซาร คนรับใช้ของท่านหญิง มัยมูนะห์ คู่ครองของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้มาที่บ้านของ อบี ญะฮม์ อิบนุล ฮาริษ อิบนุล ศิมมะห์ อัลอันศอรีย์ (ในบันทึกของท่านอิหม่ามบุคคอรี ระบุชื่อว่า อบู อัลญุฮัยม์) ซึ่งอบี ญะฮม์ กล่าวว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เดินมาจากทางด้านบ่อน้ำ ญะมัล ขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งได้เจอกับท่านแล้วก็ให้สลาม แต่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ยังไม่ได้รับสลาม โดยท่านเดินไปที่ข้างกำแพง (แล้วทำตะยัมมุม) ท่านลูบหน้าและมือทั้งสองของท่าน หลังจากนั้นท่านจึงรับสลาม
มุสลิม/หมวดที่3/บทที่28/ฮะดีษเลขที่ 0720
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยสาบานเท็จ
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ، قَالَ مَنْ حَلَفَ عَلَى يَمِينٍ يَسْتَحِقُّ بِهَا مَالاً هُوَ فِيهَا فَاجِرٌ لَقِيَ اللَّهَ وَهُوَ عَلَيْهِ غَضْبَانُ . ثُمَّ ذَكَرَ نَحْوَ حَدِيثِ الأَعْمَشِ غَيْرَ أَنَّهُ قَالَ كَانَتْ بَيْنِي وَبَيْنَ رَجُلٍ خُصُومَةٌ فِي بِئْرٍ فَاخْتَصَمْنَا إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَقَالَ " شَاهِدَاكَ أَوْ يَمِينُهُ " .
อับดุลลอฮ์ (อิบนิมัสอู๊ด) รายงานว่า ท่านรอซูลลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดเจตนาสาบานโดยอ้างสิทธิ์เพื่อครอบครองทรัพย์ ทั้งที่มันเป็นการสาบานเท็จ เขาจะกลับไปพบอัลลอฮ์ในสภาพที่พระองค์ทรงโกรธเขาเป็นอย่างยิ่ง”
ต่อจากนั้นเขาก็รายงานฮะดีษมีเนื้อหาเดียวกับฮะดีษที่ อะอ์มัชรายงาน (ดูฮะดีษเลขที่ 0254) นอกจากข้อความที่แตกต่างไปก็คือ “ระหว่างฉันก็ชายผู้หนึ่งโต้เถียงกันเรื่องกรรมสิทธิ์ในบ่อน้ำแห่งหนึ่ง และเราได้นำเรื่องนี้มาโต้แย้งกันต่อหน้าท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม” ท่านกล่าวว่า “หาพยานสองคนมายืนยันหรือไม่ก็เอาการสาบานอย่างใดอย่างหนึ่ง”
มุสลิม/หมวดที่1/บทที่63/ฮะดีษเลขที่ 0255
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยความละอาย
عَنْ إِسْحَاقَ، - وَهُوَ ابْنُ سُوَيْدٍ - أَنَّ أَبَا قَتَادَةَ، حَدَّثَ قَالَ كُنَّا عِنْدَ عِمْرَانَ بْنِ حُصَيْنٍ فِ
ي رَهْطٍ مِنَّا وَفِينَا بُشَيْرُ بْنُ كَعْبٍ فَحَدَّثَنَا عِمْرَانُ، يَوْمَئِذٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم " الْحَيَاءُ خَيْرٌ كُلُّهُ " . قَالَ أَوْ قَالَ " الْحَيَاءُ كُلُّهُ خَيْرٌ " . فَقَالَ بُشَيْرُ بْنُ كَعْبٍ إِنَّا لَنَجِدُ فِي بَعْضِ الْكُتُبِ أَوِ الْحِكْمَةِ أَنَّ مِنْهُ سَكِينَةً وَوَقَارًا لِلَّهِ وَمِنْهُ ضَعْفٌ . قَالَ فَغَضِبَ عِمْرَانُ حَتَّى احْمَرَّتَا عَيْنَاهُ وَقَالَ أَلاَ أُرَانِي أُحَدِّثُكَ عَنْ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم وَتُعَارِضُ فِيهِ . قَالَ فَأَعَادَ عِمْرَانُ الْحَدِيثَ قَالَ فَأَعَادَ بُشَيْرٌ فَغَضِبَ عِمْرَانُ قَالَ فَمَا زِلْنَا نَقُولُ فِيهِ إِنَّهُ مِنَّا يَا أَبَا نُجَيْدٍ إِنَّهُ لاَ بَأْسَ بِهِ .
รายงานจากอิสหาก ( คืออิบนุซุวัยด์ ) ว่า แท้จริงอบูก่อตาดะห์ ได้เล่าให้ฟังโดยกล่าวว่า ขณะที่พวกเรานั่งอยู่กับ อิมรอน บินฮุศอยน์ ในวงสนทนา (มากว่าสิบคน) หนึ่งในนั้นมี บุซัยร์ บินกะอบ์ อยุ่ด้วย โดยอิมรอนได้เล่าให้ฟังในวันนั้นว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ความละอายคือความดีทั้งหมด” เขากล่าวต่อไปว่า หรือท่านนบีกล่าวว่า “ความละอายทั้งหมดคือความดี”
บุซัยร์ บินกะอบ์ ได้กล่าวว่า เราพบว่ามันถูกบันทึกในตำราบางเล่มและศาสตร์แห่งภูมิปัญญาว่า ส่วนหนึ่งของความละอายนั้นเป็นคือความสงบ และความหนักแน่นเพื่ออัลลออ์ และส่วนหนึ่งของความละอายอาจจะเป็นความอ่อนแอก็ได้
เขา (ผู้รายงาน) กล่าวว่า อิมรอนโกรธมากจนตาแดงก่ำ เขากล่าวว่า เจ้าไม่รู้หรือว่าฉันบอกกับเจ้า โดยนำมาจากท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม แต่เจ้ากับแย้งมัน เขา (ผู้รายงาน) กล่าวว่า แล้วอิมรอนก็ทวนฮะดีษให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง, เขา (ผู้รายงาน) กล่าวว่า แล้วบุซัยร์ก็ทวนคำพูดของตัวเองอีกครั้งเช่นเดียวกัน ทำให้อิมรอนเดือนดาลมาก, เขา (ผู้รายงาน) กล่าวว่า พวกเรายังคงยืนยันว่า เขา (บุซัยร์) ก็คือคนหนึ่งในหมู่พวกเรา โอ้อบานุญัยด์เอ๋ย เขาไม่ได้เสียหายอะไร
มุสลิม/หมวดที่1/บทที่14/ฮะดีษเลขที่ 0060
วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หะดิษบุคอรี ว่าด้วยการกินสัตว์ที่สุนัขล่า
عَنْ عَدِيِّ بْنِ حَاتِمٍ، قَالَ سَأَلْتُ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم فَقَالَ " إِذَا أَرْسَلْتَ كَلْبَكَ الْمُعَلَّمَ فَقَتَلَ فَكُلْ، وَإِذَا أَكَلَ فَلاَ تَأْكُلْ، فَإِنَّمَا أَمْسَكَهُ عَلَى نَفْسِهِ ". قُلْتُ أُرْسِلُ كَلْبِي فَأَجِدُ مَعَهُ كَلْبًا آخَرَ قَالَ " فَلاَ تَأْكُلْ، فَإِنَّمَا سَمَّيْتَ عَلَى كَلْبِكَ، وَلَمْ تُسَمِّ عَلَى كَلْبٍ آخَرَ "
อะดีย์ อิบนุฮาติม รายงานว่า ฉันถามท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม (เกี่ยวกับสุนัขที่ใช้ล่าสัตว์) ท่านตอบว่า “เมื่อเจ้าส่งสุนัขที่ฝึกฝนมาอย่างดีไปล่าสัตว์ก็จงกินสัตว์ที่ล่านั้นเถิด แต่ถ้าสุนัขมันได้กินสัตว์ที่ล่าไปบ้างแล้วเจ้าก็จงอย่ากินสัตว์ที่ถูกล่านั้น เพราะมันไล่ล่ามาเพื่อตัวมันเอง”
ฉันถามว่า ฉันส่งสุนัขของฉันออกไปล่าสัตว์แล้วฉันก็เจอสุนัขล่าตัวอื่นๆ ร่วมล่าอยู่ด้วย ท่านตอบว่า “เจ้าอย่าได้กินสัตว์ที่ถูกล่านั้น เพราะเจ้ากล่าวนามอัลลอฮ์ในขณะที่ปล่อยสุนัขล่าของเจ้าออกไป แต่เจ้าไม่ได้กล่าวนามอัลลอฮ์สำหรับปล่อยสุนัขล่าตัวอื่นๆ”
บุคคอรี/หมวดที่4/บทที่34/ฮะดีษเลขที่ 175
หะดิษมุสลิม ว่าด้วยการตะยัมมุม
حَدَّثَنِي عَبْدُ اللَّهِ بْنُ هَاشِمٍ الْعَبْدِيُّ، حَدَّثَنَا يَحْيَى، - يَعْنِي ابْنَ سَعِيدٍ الْقَطَّانَ - عَنْ شُعْبَةَ، قَالَ حَدَّثَنِي الْحَكَمُ، عَنْ ذَرٍّ، عَنْ سَعِيدِ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ أَبْزَى، عَنْ أَبِيهِ، أَنَّ رَجُلاً، أَتَى عُمَرَ فَقَالَ إِنِّي أَجْنَبْتُ فَلَمْ أَجِدْ مَاءً . فَقَالَ لاَ تُصَلِّ . فَقَالَ عَمَّارٌ أَمَا تَذْكُرُ يَا أَمِيرَ الْمُؤْمِنِينَ إِذْ أَنَا وَأَنْتَ فِي سَرِيَّةٍ فَأَجْنَبْنَا فَلَمْ نَجِدْ مَاءً فَأَمَّا أَنْتَ فَلَمْ تُصَلِّ وَأَمَّا أَنَا فَتَمَعَّكْتُ فِي التُّرَابِ وَصَلَّيْتُ . فَقَالَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم " إِنَّمَا كَانَ يَكْفِيكَ أَنْ تَضْرِبَ بِيَدَيْكَ الأَرْضَ ثُمَّ تَنْفُخَ ثُمَّ تَمْسَحَ بِهِمَا وَجْهَكَ وَكَفَّيْكَ " . فَقَالَ عُمَرُ اتَّقِ اللَّهَ يَا عَمَّارُ . قَالَ إِنْ شِئْتَ لَمْ أُحَدِّثْ بِهِ . قَالَ الْحَكَمُ وَحَدَّثَنِيهِ ابْنُ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ أَبْزَى عَنْ أَبِيهِ مِثْلَ حَدِيثِ ذَرٍّ قَالَ وَحَدَّثَنِي سَلَمَةُ عَنْ ذَرٍّ فِي هَذَا الإِسْنَادِ الَّذِي ذَكَرَ الْحَكَمُ فَقَالَ عُمَرُ نُوَلِّيكَ مَا تَوَلَّيْتَ
สะอี๊ด อิบนุ อับดิรเราะห์มาน อิบนิ อับซา รายงานจากพ่อของเขาว่า ชายผู้หนึ่งมาหาท่านอุมัร (อิบนุ้ลค๊อตต๊อบ) แล้วกล่าวว่า ฉันมีญุนุบ (หลั่งอสุจิ) แต่ไม่สามารถหาน้ำมาอาบได้ (จะทำละหมาดได้ไหม) เขาตอบว่า ไม่ต้องละหมาด (ในสภาพที่มีญุนุบ) ขณะนั้น อัมมาร (บินยาซิร) ได้แย้งว่า โอ้ อะมีรุ้ลมุอ์มีนีน ท่านจำไม่ได้หรือ เมื่อครั้งที่ท่านและฉันอยู่ในระหว่างการเดินทางและเราก็มีญุนุบด้วยกันทั้งคู่ และไม่สามารถหาน้ำมาอาบเหมือนกัน โดยที่ท่านเองก็ไม่ได้ละหมาด ส่วนฉันก็คลุกตัวไปกับฝุ่น แล้วฉันก็ละหมาด หลังจากนั้นท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ก็กล่าวว่า เพียงพอแก่เจ้าแล้ว ที่จะเอามือทั้งสองตบบนฝุ่น แล้วเป่ามัน หลังจากนั้นก็เอามาลูบหน้า และมือทั้งสอง อุมัร กล่าวว่า พึงยำเกรงต่ออัลลอฮ์เถิด โอ้อัมมารเอ๋ย อัมมารกล่าวว่า หากท่านประสงค์เช่นนั้นฉันก็จะไม่พูดถึงมันอีก
อัลฮะกัม กล่าวว่า อิบนุ อับดิรเราะห์มาน อิบนิ อับซา เล่าให้ฉันฟังจากพ่อของเขา มีเนื้อหาเช่นเดียวกับฮะดีษที่รายงานโดย ซัรริน เขากล่าวว่า ซะละมะห์ เล่าให้ฉันฟังจาก ซัรริน ด้วยกับสายรายงานเดียวกันกับของ อัลฮะกัม นอกจากข้อความที่ว่า อุมัร กล่าวว่า เราไม่ได้ห้ามไม่ให้เจ้าเล่าเรื่องนี้ แต่เจ้าต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เจ้าเข้าใจเช่นนั้น
มุสลิม/หมวดที่3/บทที่28/ฮะดีษเลขที่ 0718
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หะดิษบุคอรี ว่าด้วยกรณีสุนัขเยี่ยวและผ่านไปผ่านมาที่มัสยิด
عَنِ ابْنِ شِهَابٍ، قَالَ حَدَّثَنِي حَمْزَةُ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ، عَنْ أَبِيهِ، قَالَ كَانَتِ الْكِلاَبُ تَبُولُ وَتُقْبِلُ وَتُدْبِرُ فِي الْمَسْجِدِ فِي زَمَانِ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَلَمْ يَكُونُوا يَرُشُّونَ شَيْئًا مِنْ ذَلِكَ.
อิบนิซิฮาบ รายงานว่า ฮัมซะห์ อิบนุ อับดิลลาห์ เล่าให้ฉันฟังจากพ่อของเขา (อับดุลลอฮ์ อิบนิอุมัร) โดยกล่าวว่า บรรดาสุนัขได้เยี่ยวและผ่านไปผ่านมาที่มัสยิดประจำ ในช่วงที่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ยังมีชวิตอยู่ แต่พวกเขา (เหล่าศอฮาบะห์) ก็ไม่เคยเอาน้ำรดรอยเยี่ยวของสุนัขนั้นแต่อย่างใด
บุคคอรี/หมวดที่4/บทที่34/ฮะดีษเลขที่ 174
หะดิษบุคอรี ว่าด้วยการลงอัลวะฮ์ยุ (วะฮีย์) มายังท่านนบี
عَنْ عَائِشَةَ أُمِّ الْمُؤْمِنِينَ ـ رضى الله عنها ـ أَنَّ الْحَارِثَ بْنَ هِشَامٍ ـ رضى الله عنه ـ سَأَلَ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ كَيْفَ يَأْتِيكَ الْوَحْىُ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم " أَحْيَانًا يَأْتِينِي مِثْلَ صَلْصَلَةِ الْجَرَسِ ـ وَهُوَ أَشَدُّهُ عَلَىَّ ـ فَيُفْصَمُ عَنِّي وَقَدْ وَعَيْتُ عَنْهُ مَا قَالَ، وَأَحْيَانًا يَتَمَثَّلُ لِيَ الْمَلَكُ رَجُلاً فَيُكَلِّمُنِي فَأَعِي مَا يَقُولُ ". قَالَتْ عَائِشَةُ رضى الله عنها وَلَقَدْ رَأَيْتُهُ يَنْزِلُ عَلَيْهِ الْوَحْىُ فِي الْيَوْمِ الشَّدِيدِ الْبَرْدِ، فَيَفْصِمُ عَنْهُ وَإِنَّ جَبِينَهُ لَيَتَفَصَّدُ عَرَقًا
ท่านหญิงอาอิชะห์ มารดาแห่งศรัทธาชน (ขอพระองค์อัลลอฮ์พอพระทัยแก่นางด้วยเถิด) รายงานว่า แท้จริง อัลฮาริส บุตรของ ฮิชาม ได้ถามท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม โดยกล่าวว่า
"โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ อัลวะฮ์ยุ (วะฮีย์) มีมายังท่านได้อย่าง ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ตอบว่า บางครั้งมันมายังฉันคล้ายเสียงกระดิ่ง ซึ่งมันหนักที่สุดสำหรับฉัน แล้วมันก็ค่อยๆ คลายไปจากฉัน และฉันก็จำในสิ่งที่เขาบอกได้ และบางครั้งมะลักก็มาหาฉันในรูปของคนผู้ชาย โดยเขาจะบอกแก่ฉัน และฉันก็จดจำในสิ่งที่เขาพูดได้ ท่านหญิงอาอิชะห์ กล่าวว่า แท้จริงฉันเคยเห็นท่านรอซูลขณะที่อัลวะฮ์ยุได้ลงมายังท่าน ในวันที่อากาศหนาวจัด แต่พอมันคลายจากท่านไปแล้ว ที่หน้าผากของท่านจะมีเหงื่อซึม"
บุคคอรี/หมวดที่1/บทที่2/ฮะดีษเลขที่2
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)